วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ในหลวง


เรื่องในหลวง ที่เราอาจจะไม่เคยรู้
1. ทรงพระราชสมภพเวลา 08.45น. 
2. นายแพทย์ผู้ทำคลอดชื่อ ดับลิว สจ๊วต วิตมอร์ ทรงมีน้ำหนักแรกประสูติ 6 ปอนด์ 
3. พระนาม ‘ภูมิพล‘ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
4. พระยศเมื่อแรกประสูติ คือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า ภูมิพลอดุลยเดช
5. ทรงมีชื่อเล่น ว่า เล็ก หรือ พระองค์เล็ก
6. ทรงเคยเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนมาแตร์เดอี เพราะช่วงพระชนมายุ 5 พรรษาทรงเคยเข้าเรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ 1 ปี มีพระนามในใบลงทะเบียนว่า ‘H.H Bhummibol Mahidol’หมายเลขประจำตัว 449
7. ทรงเรียกสมเด็จพระราชชนนีหรือสมเด็จย่า อย่างธรรมดาว่า ‘แม่‘
8. สมัยทรงพระเยาว์ ทรงได้ค่าขนม อาทิตย์ละครั้ง
9. แม้จะได้เงินค่าขนมทุกอาทิตย์ แต่ยังทรงรับจ้างเก็บผักผลไม้ไปขาย เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อเมล็ดผักมาปลูกเพิ่ม
10. สมัยพระเยาว์ทรงเลี้ยงสัตว์หลายชนิดทั้งสุนัข กระต่าย ไก่ นกขุนทอง ลิง แม้แต่งูก็เคยเลี้ยง ครั้งหนึ่งงูตายไปก็มีพิธีฝังศพอย่างใหญ่โต
11. สุนัขตัวแรกที่ทรงเลี้ยงสมัยทรงพระเยาว์เป็นสุนัขไทยทรงตั้งชื่อให้ว่า‘บ๊อบบี้ ‘
12. ทรงฉลองพระเนตร(แว่นสายตา)ตั้งแต่พระชันษายังไม่เต็ม 10 ขวบ เพราะครูประจำชั้นสังเกตเห็นว่าเวลาจะทรงจดอะไรจากกระดานดำพระองค์ต้องลุกขึ้นบ่อยๆ
13. สมัยพระเยาว์ทรงซนบ้าง หากสมเด็จย่าจะลงโทษ จะเจรจากันก่อนว่า โทษนี้ควรตีกี่ที ในหลวงจะทรงต่อรองว่า 3 ทีมากเกินไป 2 ทีพอแล้ว
14. ระหว่างประทับอยู่ สวิตเซอร์แลนด์นั้นระหว่างพี่น้องจะทรงใช้ภาษาฝรั่งเศส แต่จะใช้ภาษาไทยกับสมเด็จย่าเสม
15. ทรงได้รับการอบรมให้รู้จัก ‘การให้ ‘ โดยสมเด็จย่าจะทรงตั้งกระป๋องออมสินเรียกว่า ‘กระป๋องคนจน ‘ เอาไว้ หากทรงนำเงินไปทำกิจกรรมแล้วมีกำไร จะต้องถูก ‘เก็บภาษี ‘ หยอดใส่กระปุกนี้ 10% ทุกสิ้นเดือนสมเด็จย่าจะเรียกประชุมเพื่อถามว่าจะเอาเงินในกระป๋องนี้ไปทำอะไร เช่น มอบให้โรงเรียนตาบอด มอบให้เด็กกำพร้า หรือทำกิจกรรมเพื่อคนยากจน
16. ครั้งหนึ่ง ในหลวงกราบทูลสมเด็จย่าว่าอยากได้รถจักรยาน เพราะเพื่อนคนอื่นๆ เขามีจักรยานกัน สมเด็จย่าก็ตอบว่า ‘ลูกอยากได้จักรยาน ลูกก็ต้องเก็บค่าขนมไว้สิ หยอดกระป๋องวันละเหรียญ ได้มาก ค่อยเอาไปซื้อจักรยาน‘
17. กล้องถ่ายรูปกล้องแรกของในหลวง คือ Coconet Midget ทรงซื้อด้วยเงินสะสมส่วนพระองค์ เมื่อพระชนม์เพียง 8 พรรษา
18. ช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทรงปั่นจักรยานไปโรงเรียนแทนรถพระที่นั่ง
19. พระอัจฉริยภาพของในหลวง มีพื้นฐานมาจาก ‘การเล่น ‘ สมัยทรงพระเยาว์ เพราะหากอยากได้ของเล่นอะไรต้องทรงเก็บสตางค์ซื้อเอง หรือ ประดิษฐ์เอง ทรงเคยหุ้นค่าขนมกับพระเชษฐา ซื้อชิ้นส่วนวิทยุทีละชิ้นๆ แล้วเอามาประกอบเองเป็นวิทยุ แล้วแบ่งกันฟัง
20. สมเด็จย่าทรงสอนให้ในหลวงรู้จักการใช้แผนที่และภูมิประเทศของไทย โดยโปรดเกล้าฯให้โรงเรียนเพาะช่างทำแผนที่ประเทศไทยเป็นรูปตัวต่อ เลื่อยเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็กๆเพื่อให้ทรงเล่นเป็นจิ๊กซอว์
21. ในหลวงทรงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด เช่น เปียโน กีตาร์ แซกโซโฟน แต่รู้หรือไม่ว่าเครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ทรงหัดเล่นคือ หีบเพลง (แอกคอร์เดียน)
22. ทรงสนพระทัยดนตรีอย่างจริงจังราวพระชนม์ 14-15 พรรษา ทรงซื้อแซกโซโฟนมือสองราคา 300 ฟรังก์มาหัดเล่น โดยใช้เงินสะสมส่วนพระองค์ครึ่งหนึ่ง และอีกครึ่งหนึ่งสมเด็จย่าออกให
23. ครูสอนดนตรีให้ในหลวง ชื่อ เวย์เบรชท์ เป็นชาว อัลซาส
24. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก เมื่อพระชนมพรรษา 18 พรรษา เพลงพระราชนิพนธ์แรกคือ ‘แสงเทียน ‘ จนถึงปัจจุบันพระราชนิพนธ์เพลงไว้ทั้งหมด 48 เพลง
25. ทรงพระราชนิพนธ์เพลงได้ทุกแห่ง บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องดนตรีช่วย อย่างครั้งหนึ่งทรงเกิดแรงบันดาลพระทัย ทรงฉวยซองจดหมายตีเส้น 5 เส้นแล้วเขียนโน้ตทำนองเพลงขึ้นเดี๋ยวนั้น กลายเป็นเพลง ‘เราสู้‘
26. รู้ไหม…? ทรงมีพระอุปนิสัยสนใจการถ่ายภาพเหมือนใคร : เหมือนสมเด็จย่า และ รัชกาลที่5
27. นอกจากทรงโปรดการถ่ายภาพแล้ว ยังสนพระทัยการถ่ายภาพยนตร์ด้วยทรงเคยนำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ออกฉายแล้วนำเงินรายได้มาสร้างอาคารสภากาชาดไทย ที่ รพ.จุฬาฯรพ.ภูมิพล รวมทั้งใช้ในโครงการโรคโปลิโอและโรคเรื้อนด้วย
28. ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง ‘นายอินทร์ ‘ และ ‘ติโต ‘ ทรงเขียนด้วยลายพระหัตถ์ แล้วให้เสมียนพิมพ์ แต่ ‘พระมหาชนก‘ ทรงพิมพ์ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
29. ทรงเล่นกีฬาได้หลายชนิด แต่กีฬาที่ทรงโปรดเป็นพิเศษได้แก่ แบดมินตัน สกี และ เรือใบ ทรงเคยได้เหรียญทองจากการแข่งขันเรือใบประเภทโอเค ในกีฬาแหลมทอง(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ‘กีฬาซีเกมส์‘) ครั้งที่ 4 ปี พ.ศ.2510
30. ครั้งหนึ่ง ทรงเรือใบออกจากฝั่งไปได้ไม่นานก็ทรงแล่นกลับฝั่ง และตรัสกับผู้ที่คอยมาเฝ้าฯว่า เสด็จฯกลับเข้าฝั่งเพราะเรือแล่นไปโดนทุ่นเข้า ซึ่งในกติกาการแข่งเรือใบถือว่าฟาวส์ ทั้งๆที่ไม่มีใครเห็น แสดงให้เห็นว่าทรงยึดกติกามากแค่ไหน
31. ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรผลงานประดิษฐ์คิดค้นเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่มลอย หรือ ‘กังหันชัยพัฒนา ‘ เมื่อปี 2536
33. ทรงเป็นผู้ริเริ่มการพัฒนาเชื้อเพลิงน้ำมันจากวัสดุการเกษตรเพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน เช่น แก๊สโซฮอล์,ดีโซฮอลล์ และ น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ ต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ! ปีแล้ว
34. องค์การสหประชาชาติ ได้ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่ในหลวงเมื่อ วันที่ 26 พฤษภาคม 2549 เพื่อสดุดีพระเกียรติคุณพระราชกรณียกิจด้านการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย โดยมี นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาถวายรางวัลด้วยตนเอง
35. พระนามเต็มของในหลวง : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรา มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร
36. รักแรกพบ ของในหลวงและหม่อมสิริกิติ์เกิดขึ้นที่สวิสเซอร์แลนด์ แต่เหตุการณ์ครั้งนั้น สมเด็จพระบรมราชินีนาถฯทรงให้สัมภาษณ์ว่า ‘น่าจะเป็น เกลียดแรกพบ มากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะรับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงๆแล้วเสด็จมาถึงหนึ่งทุ่ม ช้ากว่าเวลานัดหมายตั้งสามชั่วโมง
37. ทรงหมั้นกับ ม.ร.ว.สิริกิติ์ กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2492 และจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ที่วังสระปทุม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 โดยทรงจดทะเบียนสมรสเหมือนคนทั่วไป ข้อความในสมุดทะเบียนก็เหมือนคนทั่วไปทุกอย่าง ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท
37. หลังอภิเษกสมรส ทรง ‘ฮันนีมูน ‘ที่หัวหิน
38. ทรงผนวช ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2499 และประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลา 15 วัน
39. ระหว่างทรงผนวช พระอุปัชฌาย์และพระพี่เลี้ยง คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
40. ของใช้ส่วนพระองค์นั้นไม่จำเป็นต้องแพงหรือต้องแบรนด์เนม ดังนั้นการถวายของให้ในหลวงจึงไม่จำเป็นจะต้องเป็นของแพง อะไรที่มาจากน้ำใจจะทรงใช้ทั้งนั้น
41. เครื่องประดับ : ในหลวงไม่ทรงโปรดสวมเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ ของมีค่าต่างๆ ยกเว้น นาฬิกา
42. พระเกศาที่ทรงตัดแล้ว : ส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่ธงชัยเฉลิมพลเพื่อมอบแก่ทหาร อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้สร้างวัตถุมงคล เพื่อมอบแก่ราษฎรที่ทำคุณงามความดีแก่ประเทศชาติ
43. หลอดยาสีพระทนต์ ทรงใช้จนแบนราบเรียบคล้ายแผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอด ยังปรากฏรอยบุ๋มลึกลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด ซึ่งเป็นผลจากการใช้ด้ามแปรงสีพระทนต์ช่วยรีด และ กดเป็นรอยบุ๋ม
44. วันที่ในหลวงเสียใจที่สุด คือวันที่สมเด็จย่าเสด็จสวรรคต มีหนังสือเล่าไว้ว่า วันนั้นในหลวงไปเฝ้าแม่ถึงตีสี่ตีห้าพอแม่หลับจึงเสด็จฯกลับเมื่อถึงวัง ทางโรงพยาบาลก็โทรศัพท์มาแจ้งว่า สมเด็จย่าสิ้นพระชนม์แล้ว ในหลวงรีบกลับไปที่โรงพยาบาล เห็นแม่นอนหลับตาอยุ่บนเตียง ในหลวงคุกเข่าเข้าไปกราบที่อกแม่ ซบหน้านิ่งอยู่นานค่อยๆเงยพระพักตร์ขึ้นมาน้ำพระเนตรไหลนอง
45. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนถึงปัจจุบนมีจำนวนกว่า 3,000 โครงการ
46. ทุกครั้งที่เสด็จฯไปยังสถานต่างๆจะทรงมีสิ่งของประจำพระองค์อยู่ 3 สิ่ง คือ แผนที่ซึ่งทรงทำขึ้นเอง(ตัดต่อเอง ปะกาวเอง) กล้องถ่ายรูป และดินสอที่มียางลบ
47. ในหลวงทรงงานด้วยพระองค์เองทุกอย่างแม้กระทั่งการโรเนียวกระดาษที่จะนำมาให้ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯถวายงาน
48. เก็บร่ม : ครั้งหนึ่งเมื่อในหลวงเสด็จฯเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งมาถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการและราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังนั้น จึงมีรับสั่งให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรทั้งกลางสายฝน
49. ทรงศึกษาลักษณะอากาศทุกวัน โดยใช้ข้อมูลที่กรมอุตุนิยมวิทยานำขึ้นทูลเกล้าฯ ร่วมกับข้อมูลจากต่างประเทศที่หามาเอง เพื่อป้องกันภัยธรรมชาติที่อาจก่อความเสียหายแก่ประชาชน
50. โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา เริ่มต้นขึ้นจากเงินส่วนพระองค์จำนวน 32,866.73บาท ซึ่งได้จากการขายหนังสือดนตรีที่พระเจนดุริยางค์ จากการขายนมวัว ก็ค่อยๆเติบโตเป็นโครงการพัฒนามาจนเป็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้
51. เวลามีพระราชอาคันตุกะเสด็จมาเยี่ยมชมโครงการฯสวนจิตรลดา ในหลวงจะเสด็จฯลงมาอธิบายด้วยพระองค์เอง เนื่องจากทรงรู้ทุกรายละเอียด
52. ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ในหลวงตอบว่า ‘ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก! บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเรานั้นสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั่วประเทศ’
53. ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันที่พระองค์ทรงกำลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังในอีก 5 ชั่วโมง (20 กรกฎาคม 2549) ยังทรงรับสั่งให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้ เพราะกำลังมีพายุเข้าประเทศ พระองค์จะได้มอนิเตอร์ เผื่อน้ำท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน
54. อาหารทรงโปรด : โปรดผัดผักทุกชนิด เช่น ผัดคะน้า ผัดถั่วงอก ผัดถั่วลันเตา
55. ผักที่ไม่โปรด : ผักชี ต้นหอม และตังฉ่าย
56. ทรงเสวย ข้าวกล้อง เป็นพระกระยาหารหลัก
57. ไม่เสวยปลานิล เพราะทรงเป็นผู้เลี้ยงปลานิลคนแรกในประเทศไทย โดยใช้สระว่ายน้ำในพระตำหนักสวนจิตรลดาเป็นบ่อเลี้ยง แล้วแจกจ่ายพันธุ์ไปให้กรมประมง
58. เครื่องดื่มทรงโปรด : โปรดโอวัลตินเป็นพิเศษ เคยเสวยวันหนึ่งหลายครั้ง
59. ทีวีช่องโปรด ทรงโปรดข่าวช่องฝรั่งเศส ของยูบีซี เพื่อทรงรับฟังข่าวสารจากทั่วโล
60. ทรงฟัง จส.100 และเคยโทรศัพท์ไปรายงานสถานการณ์ต่างๆใน กทม.ไปที จส.100ด้วย โดยใช้พระนามแฝง
61. หนังสือที่ในหลวงอ่าน : ตอนเช้าตื่นบรรทม ในหลวงจะเปิดดูหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทยและเทศ ทุกฉบับ และก่อนเข้านอนจะทรงอ่านนิตยสารไทม์ส นิวสวีก เอเชียวีก ฯลฯ ที่มีข่าวทั่วทุกมุมโลก
62. ร้านตัดเสื้อของในหลวง คือ ร้านยูไลย เจ้าของชื่อ ยูไลย ลาภประเสริฐ ถวายงานตัดเสื้อในหลวงมาตั้งแต่ปี 2501 เมื่อนายยูไลยเสียชีวิต ก็มี ลูกชาย นายสมภพ ลาภประเสริฐ มาถวายงานต่อ จนถึงตอนนี้ก็เกือบ 50 ปีแล้ว
63. ห้องทรงงานของในหลวง อยู่ใกล้ห้องบรรทม บนชั้น 8 ของตำหนักจิตรลดาฯเป็นห้องเล็กๆ ขนาด 3x4 เมตร ภายในห้องมีวิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องพยากรณ์ แผนที่ ฯลฯ
64. สุนัขทรงเลี้ยง นอกจากคุณทองแดง สุวรรณชาด สุนัขประจำรัชกาล ที่ปัจจุบันอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล แล้ว ยังมีสุนัขทรงเลี้ยงอีก 33 ตัว
65. ในหลวง เกิดจากคำที่ชาวเหนือใช้เรียกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า ‘นายหลวง ‘ ภายหลังจึงเปลี่ยนเป็น ในหลวง
66. ทรงเชี่ยวชาญถึง 6 ภาษา คือ ไทย ละติน ฝรั่งเศส อังกฤษ เยอรมัน และ สเปน
67. อาชีพของในหลวง เมื่อผู้แทนพระองค์ไปติดต่อเอกสารสำคัญใดๆทรงโปรดให้กรอกในช่อง อาชีพ ของพระองค์ว่า ‘ทำราชการ ‘
68. ในหลวงทรงพระเนตรเทียมข้างขวา เป็นผลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ รถพระที่นั่งชนกับรถบรรทุกอย่างแรง ทำให้เศษกระจกเข้าพระเนตรข้างขวา ตอนนั้นมีอายุเพียง 20 พรรษา และทรงใช้พระเนตรข้างซ้ายข้างเดียว ในการทำงานบำบัดทุกข์บำรุงสุขประชาชนชาวไทยมาตลอดกว่า 60 ปี
69. ครั้งหนึ่งหนังสือพิมพ์อเมริกันลงข่าวลือเกี่ยวกับในหลวงว่า แซกโซโฟนที่ทรงอยู่เป็นประจำนั้นเป็นแซกโซโฟนที่ทำด้วยทองคำเนื้อแท้บริสุทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำรัสว่า ‘อันนี้ไม่จริงเลย สมมติว่าจริงก็จะหนักมาก ยกไม่ไหวหรอก ‘
70. ปีหนึ่งๆ ในหลวงทรงเบิกดินสอแค่ 12 แท่ง ใช้เดือนละแท่ง จนกระทั่งกุด
71. หัวใจทรงเต้นไม่ปรกติ ในหลวงเคยประชวรหนักจนหัวใจเต้นไม่ปกติ เนื่องจากติดเชื้อไมโครพลาสม่า ขณะขึ้นเยี่ยมราษฎรที่อำเภอสะเมิงติดต่อกันหลายปี
72. รู้หรือไม่ว่า ในหลวงเป็นคนประดิษฐ์รูปแบบฟอนต์ภาษาในคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้อย่าง ฟอนต์จิตรลดา ฟอนต์ภูพิงค์
73. ในนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี จัดขึ้นที่อิมแพ็ค มีประชาชนเข้าชมรวม 6 ล้านคน
74. ในหลวงเริ่มพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2493 จน 29 ปีต่อมาจึงมีผู้คำนวณว่าเสด็จพระราชทานปริญญาบัตร 490 ครั้ง ประทับครั้งละ 3 ชม. ทรงยื่นพระหัตถ์พระราชทาน 470,000 ครั้ง น้ำหนักปริญญาบัตรฉบับละ 3 ขีด รวมน้ำหนักทั้งหมด 141 ตัน
75. ดอกไม้ประจำพระองค์ คือ ดอกดาวเรือง
76. สีประจำพระองค์คือ สีเหลือง
77. นั่งรถหารสอง : ทรงรับสั่งกับข้าราชบริพารเสมอว่า การนั่งรถคนละคันเป็นการสิ้นเปลือง จึงให้นั่งรวมกัน ไม่โปรดให้มีขบวนรถยาวเหยียด

อ่านจบแล้วจะส่งต่อหรือไม่ พิจารณาเอาเองก้อแล้วกัน


http://www.chaoprayanews.com/2012/06/01/บทความเกี่ยวกับในหลวง-ท/

วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน

ภาระจำยอมเป๋นทรัพยฺสินที่ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า"ภารยทรัพย์"ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือให้ต้องงดใช้สิทธิบางอย่างในทรัพย์สินของตน เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งเรียกเป็นภาษากฎหมายว่า"สามยทรัพย์"ตัวอย่างเช่น นางแดงเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งที่ร้อยเอ็ด ได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของนายดำ โดยนายดำให้ความยินยอมให้นางแดงเดินผ่านที่ดินของตน สิทธิในการเดินผ่านที่ดินของนายดำเรียกว่า สิทธิภาระจำยอมที่ดินของนางแดง เรียกว่า สามยทรัพย์ ที่ดินชองนายดำเรียกว่า ภารยทรัพย์ ในทางกฎหมายการได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมมีด้วยกัน 3 วิธี คือ

1. โดยอายุความ คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามานยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์

2. โดยอายุความ คือ เจ้าของสามานยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา 10 ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ นส. 3 ก็ตาม

3. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม เช่น ผู้ที่สร้างห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจำยอมในที่ดินส่วนที่ปลูกรุกล้ำ

สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า โดยจะกำหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน 30 ปี หรือกำหนดไว้ให้มีระเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ โดยจะมีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น จะทำการค้าไม่ได้ และห้ามโอนให้แก่กัน แม้โดยทางมรดกโดยเด็ดขาด

สิทธิเหนือพื้นดิน คือ สิทธิที่เจ้าของที่ดินให้แก่บุคคลหนึ่ง เพื่อนให้บุคคลนั้นได้เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูก ที่ได้กระทำบนดินหรือใต้ดิน เช่น นายเอ็ม เจ้าของที่ดินยินยอมให้ นายโจว์ปลูกบ้านในที่ดินของตนได้ สิทธิเหนือพื้นดินต้องเกิดจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ สิทธิเหนือพื้นดินย่อมไม่สิ้นไปเพราะเหตุโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกได้ไฟไหม้ หรือล่มสลายไป แม้จะด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ซึ่งต่างจากสัญญาเช่าบ้าน ถ้าบ้านที่เช่าสลายไปสัญญาเช่าเป็นอันระงับไป แต่สิทธิเหนือพื้นดินไม่หมดไป แม้บ้านจะถูกไฟไหม้ ผู้มีสิทธิเหนือพื้นดินปลูกใหม่ได้

สิทธิเหนือพื้นดินย่อมโอนให้แก่ผู้อื่นโดยทางมรดกได้ เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่น

สิทธิเก็บกินนั้นคล้ายกับสิทธิเหนือพื้นดิน แต่ต่างกันตรงที่สิทธิเก็บกินเป็นเพียงสิทธิการใช้และ/หรือการถือเอาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เช่น ผู้มีสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือถ่านหิน มีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดถ่านหินนั้น สิทธิเก็บกินย่อมเกิดจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น และต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เมื่อสิทธิเก็บกินสิ้นลงแล้ว ผู้เก็บกินต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของและถ้าที่ดินเสื่อมราคาลงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของด้วย

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

สิทธิเด็ก



สิทธิเด็กคืออะไร
?

" สิทธิ " หมายถึง
ทุกสิ่งที่ยุติธรรม และเป็นสิ่งเฉพาะตัวของบุคคล ที่มีหรือมีความสามารถที่จะมี

" สิทธิเด็ก " เป็นสิทธิสากล (Universal Rights) และเป็นสิทธิเด็ดขาด (Absolute Rights) ที่ต้องได้รับการรับรองและคุ้มครอง อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ไม่ได้ใช้เพื่อการเรียกร้องสิทธิเด็ก แต่ใช้เพื่อการพัฒนาเด็กทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ให้เจริญเติบโตรอบด้านเต็มศักยภาพ และไม่เลือกปฏิบัติด้วยการผนึกกำลังร่วมกันในทุกสถานบันทั่งโลก

ไม่เลือกปฏิบัติ ทุกเชื้อชาติ ศาสนา สถานะทางสังคม วรรณะ เพศ ผิด

อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิเด็ก เป็นผลมาจากการทำงานของคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษชนขององค์การสหประชาชาติ และได้ประกาศใช้ครั้งแรกในปีพุทธศักราช 2533 และประเทศไทยได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 26 เมษายน พุทธศักราช 2535

อนุสัญญา ว่าด้วยสิทธิ มีทั้งสิ้น 54 ข้อ โดย 40 ข้อแรก เป็นสาระสำคัญด้านสิทธิขั้นพื้นฐานของเด็ก 4 ประการ 14 ข้อหลัง เป็นส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพันธกรณีที่ระบุไว้

เด็กในความมุ่งหมายของอนุสัญญานี้ หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยกเว้นผู้ที่แต่งงานถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ


สิทธิที่จะมีชีวิตรอด
(Right of Survival)
ครอบคลุมถึงสิทธิของเด็กที่จะมีชีวิต และสิทธิที่จะมีมาตรฐานความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม อันรวมถึง ที่อยู่อาศัยโภชนาการและยารักษาโรค
- สิทธิในการมีชีวิตรอดและส่งเสริมชีวิต
- ได้รับโภชการที่ดี
- ได้รับความรักความเอาใจใส่จากครอบครัวและสังคม
- ได้รับการบริการด้านสุขภาพ
- การให้ทักษะชีวิตที่ถูกต้อง
- การให้ที่อยู่อาศัยและการเลี้ยงดู

สิทธิที่จะได้รับการพัฒนา (Right of Development)
ครอบ คลุมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เด็กมีความต้องการจะพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพเช่น สิทธิที่จะได้รับการศึกษา การเล่น การพักผ่อนหย่อนใจ มีกิจกรรมด้านวัฒนธรรม เข้าถึงข้อมูลและมีเสรีภาพทางความคิด สติปัญญาและศาสนา
- ได้รับการศึกษาทั้งใน/นอกระบบ
- เข้าถึงข่าวสารที่เหมาะสม
- เสรีภาพในความคิด มโนธรรม และศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและศาสนา
- พัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งทางสังคมและจิตใจ
- พัฒนาสุขภาพร่างกาย

สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครอง (Right of Protection)
ครอบ คลุมสิทธิทุกประการที่จะปกป้องคุ้มครองเด็ก จากการถูกล่วงละเมิดทุกประเภท การทอดทิ้งและการบ่อนทำลาย เช่น การดูแลเด็กที่อพยพเป็นกรณีพิเศษ ปกป้องจากการถูกทรมาน การล่วงละเมิดในระบบการศาล เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งที่ใช้แรงงานเด็ก ยาเสพติด และการล่วงละเมิดทางเพศ
- การคุ้มครองจากการเลือกปฏิบัติ
- การล่วงละเมิด การทำร้าย การกลั่นแกล้งรังแก
- การถูกทอดทิ้ง ละเลย
- การลักพาตัว
- การใช้แรงงานเด็ก
- ความยุติธรรมต่อผู้เยาว์
- การเอารัดเอาเปรียบทางเพศ

สิทธิที่จะมีส่วนร่วม (Right of Participation)
ให้ สิทธิแก่เด็กที่จะมีบทบาทในชุมชนและชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นทุกประการ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของตนเอง เพื่อให้สามารถเข้าสังคมสโมสรได้อย่างสงบสุข เพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วม เพื่อเป็นผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบในอนาคต
- แสดงทัศนะของเด็ก
- เสรีภาพในการติดต่อข่าวสารข้อมูล
- มีบทบาทในชุมชน
- แสดงความคิดเห็นในเรื่องที่มีผลกระทบต่อเด็ก


1.เด็กควรจะได้รับการเลี้ยงดูจากผู้ปกครอง บุคคล หรือครอบครัว ที่ให้ความรักความเข้าใจ ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทุกด้านของเด็ก

2.เด็กควรได้รับอาหารอย่างน้อยที่สุดตามความเหมาะสมแก่ร่างกายของเขาและเธอ

3.ควรมีการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก

4.เด็กควรมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม

5.เด็กควรได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย

6.เด็กควรได้รับการพัฒนาให้มีความสุขกับชีวิต และรักษาเอกลักษณ์และมรดกของชาติไว้

7.เด็ก ควรได้รับการความรู้และการฝึกอบรมเพื่อเป็นการเตรียมสู่การประกอบอาชีพตาม ความเหมาะสมกับ ทัศนคติ ความสามารถและความสนใจของเขาและเธอ

8.เด็กควรได้รับโอกาส และสามารถแสดงความคิดเห็นของเขาและเธอ

9.เด็กควรได้รับการบริการขั้นพื้นฐานจากทั้งภาครัฐและเอกชน

10.เด็กควรจะมีโอกาสรับรู้และปกป้องสิทธิและประโยชน์


2466 สิทธิเด็กได้รับการยอมรับจาก สมาพันธ์เซฟเดอะชิลเดร็นนานาชาติ

2467 สิทธิเด็กได้รับการยอมรับจาก สันนิบาตชาติ

• ถือว่าเป็นการประกาศ “สิทธิเด็ก” ครั้งแรกของโลก

2501 สมัชชาแห่งสหประชาชาติ รับรองการประกาศ สิทธิมนุษยชนทั่วโลก

2502 กลุ่มสมัชชา สหประชาชาติ รับรองการประกาศใช้สิทธิเด็กครั้งที่สอง

• คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เริ่มร่าง “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก”

2522 เป็นปีเด็กสากลมีการประชาสัมพันธ์ ประกาศสิทธิเพื่อเด็ก 10 ประการ

2532 ร่างอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กสำเร็จ*อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กได้รับการรับรองโดยสมัชชาแห่งสหประชาชาติ

2533 ประเทศไทยลงนามรับสัตยาบัน “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก”

2535 อนุสัญญามีผลบังคับใช้ในประเทศไทย

ต้องรายงานผลการดำเนินงาน 2 ปีหลังจากนั้นและทุกๆ 5 ปีหลังจากนั้น

วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการหลวง


ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง หรือ ที่เราเรียกกันว่า "โครงการหลวง" เริ่มต้นจากโครงการหลวงดอยอ่างขางเป็นแห่งแรก ตามแนวพระราชดำริของในหลวง ว่า "ให้ช่วยเขา ช่วยตัวเอง"
จนมาในปัจจุบัน โครงการหลวงทั้งหมด กระจายอยู่ใน 5 จังหวัดของภาคเหนือ อันได้แก่ เชียงใหม่ ,เชียงราย ,แม่ฮ่องสอน ,พะเยา และ ลำพูน โดยมีอยู่ทั้งสิ้น 36 โครงการ คลิ๊กดูรายละเอียด

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

โครงการพระราชดำริ

ประกอบด้วย
1.โครงการส่วนพระองค์
โครงการที่ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ดำเนินการในพื้นที่ส่วนพระองค์
เช่น โครงการจิตรลดา
2.โครงการตามพระราชประสงค์
โครงการพระราชดำริระยะแรก ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดำเนินการ
ให้กับประชาชนในลักษณะสหกรณ์ เช่น โครงการหุบกระพง จังหวัดเพชรบุรี
และโครงการสหกรณ์สันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่
3.โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์
โครงการที่ดำเนินการให้กับประชาชน และทรงเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ประชาชน
จึงทรงรับไว้ในพระ-บรมราชูปถัมภ์
4.โครงการหลวง
โครงการที่ดำเนินการกับราษฎรที่อยู่ในพื้นที่สูง ให้มีอาชีพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
รวมทั้งแก้ไขปัญหายาเสพติด โดยการปลูกพืชเมืองหนาว ทดแทนการปลูกฝิ่น
ปัจจุบันอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของมูลนิธิโครงการหลวง
5.โครงการตามพระราชดำริ
โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ส่วนใหญ่ได้
ดำเนินการในพื้นที่เพื่อความมั่นคง ซึ่งบูรณาการผู้รับผิดชอบโดยทหาร และ
หน่วยราชการต่าง ๆ โดยมีบางโครงการที่ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว
ได้พระราชทานงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
6.โครงการอันเนื่องพระราชดำริ
ทรงพระราชทานพระราชดำริให้รัฐบาลพิจารณาดำเนินการโครงการ ซึ่ง
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะรับแนวพระราชดำริ ไปพิจารณาแผนงานโครงการ
และนำเสนอต่อรัฐบาลเพื่อดำเนินการ โดยรัฐบาลได้มอบให้ สำนักงาน กปร.
เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนองพระราชดำริดังกล่าว ทั้งนี้
ได้มอบหมายให้ สำนักงาน กปร. ดูแลรับผิดชอบศูนย์ศึกษาการพัฒนาทั้ง 6 ศูนย์
7.มูลนิธิชัยพัฒนา
ทรงริเริ่มและจัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐและช่วยเหลือประชาชน
ในการพัฒนาด้านต่าง ๆ เนื่องจากหน่วยงานราชการมีข้อจำกัดในการดำเนินงาน
8.มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
สืบสานแนวพระราชดำริ ในการแก้ปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ ตั้งแต่
กระบวนการผลิต แปรรูปและการตลาด รวมถึงการฟื้นฟูระบบนิเวศ
ศึกษารายละเอียดของโครงการพระราชดำริเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่