วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2555

ภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน

ภาระจำยอมเป๋นทรัพยฺสินที่ทำให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่เรียกเป็นภาษากฎหมายว่า"ภารยทรัพย์"ต้องรับกรรมบางอย่าง ซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือให้ต้องงดใช้สิทธิบางอย่างในทรัพย์สินของตน เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของบุคคลอื่น ซึ่งเรียกเป็นภาษากฎหมายว่า"สามยทรัพย์"ตัวอย่างเช่น นางแดงเป็นเจ้าของที่ดินแปลงหนึ่งที่ร้อยเอ็ด ได้ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของนายดำ โดยนายดำให้ความยินยอมให้นางแดงเดินผ่านที่ดินของตน สิทธิในการเดินผ่านที่ดินของนายดำเรียกว่า สิทธิภาระจำยอมที่ดินของนางแดง เรียกว่า สามยทรัพย์ ที่ดินชองนายดำเรียกว่า ภารยทรัพย์ ในทางกฎหมายการได้มาซึ่งสิทธิภาระจำยอมมีด้วยกัน 3 วิธี คือ

1. โดยอายุความ คือ เจ้าของภารยทรัพย์ยอมให้สิทธิภาระจำยอมแก่เจ้าของสามานยทรัพย์โดยการทำสัญญา (นิติกรรม) แต่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์

2. โดยอายุความ คือ เจ้าของสามานยทรัพย์ได้ใช้ที่ดินของเจ้าของภารยทรัพย์เป็นเวลา 10 ปี ไม่ว่าที่ดินมีโฉนดหรือ นส. 3 ก็ตาม

3. โดยผลของกฎหมายกำหนดให้เป็นสิทธิภาระจำยอม เช่น ผู้ที่สร้างห้องแถวรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริต ย่อมได้ภาระจำยอมในที่ดินส่วนที่ปลูกรุกล้ำ

สิทธิอาศัย คือ สิทธิที่บุคคลได้อาศัยในโรงเรือนของบุคคลอื่นโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า โดยจะกำหนดระยะเวลากันไว้ไม่เกิน 30 ปี หรือกำหนดไว้ให้มีระเวลาตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้ โดยจะมีสิทธิเฉพาะการอาศัยเท่านั้น จะทำการค้าไม่ได้ และห้ามโอนให้แก่กัน แม้โดยทางมรดกโดยเด็ดขาด

สิทธิเหนือพื้นดิน คือ สิทธิที่เจ้าของที่ดินให้แก่บุคคลหนึ่ง เพื่อนให้บุคคลนั้นได้เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูก ที่ได้กระทำบนดินหรือใต้ดิน เช่น นายเอ็ม เจ้าของที่ดินยินยอมให้ นายโจว์ปลูกบ้านในที่ดินของตนได้ สิทธิเหนือพื้นดินต้องเกิดจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น และต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่จึงจะสมบูรณ์ สิทธิเหนือพื้นดินย่อมไม่สิ้นไปเพราะเหตุโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกได้ไฟไหม้ หรือล่มสลายไป แม้จะด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ซึ่งต่างจากสัญญาเช่าบ้าน ถ้าบ้านที่เช่าสลายไปสัญญาเช่าเป็นอันระงับไป แต่สิทธิเหนือพื้นดินไม่หมดไป แม้บ้านจะถูกไฟไหม้ ผู้มีสิทธิเหนือพื้นดินปลูกใหม่ได้

สิทธิเหนือพื้นดินย่อมโอนให้แก่ผู้อื่นโดยทางมรดกได้ เว้นแต่จะตกลงไว้เป็นอย่างอื่น

สิทธิเก็บกินนั้นคล้ายกับสิทธิเหนือพื้นดิน แต่ต่างกันตรงที่สิทธิเก็บกินเป็นเพียงสิทธิการใช้และ/หรือการถือเอาประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เช่น ผู้มีสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือถ่านหิน มีสิทธิแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดถ่านหินนั้น สิทธิเก็บกินย่อมเกิดจากนิติกรรมสัญญาเท่านั้น และต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ได้ เมื่อสิทธิเก็บกินสิ้นลงแล้ว ผู้เก็บกินต้องส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของและถ้าที่ดินเสื่อมราคาลงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของด้วย